วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Take care your life (การดูแลสุขภาพ)

โดยธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้น ในชีวิต ก็จะพยายามหาทางแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เป็นอันดับแรก เมื่อรู้ว่า ไม่สามารถแก้ปัญหาได้เอง ก็จะแสวงหาความช่วยเหลือจากผู้อื่น
ในเรื่องความเจ็บป่วย หรือปัญหาสุขภาพก็เช่นเดียวกัน ทุกคนต้องการที่จะดูแลตนเอง ให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ ดังนั้น กล่าวได้ว่า "การดูแลสุขภาพตนเอง เป็นกิจกรรมที่บุคคลแต่ละคนปฏิบัติ และยึดเป็นแบบแผนในการปฏิบัติ เพื่อให้มีสุขภาพดี" อาจแบ่งขอบเขตการดูแลสุขภาพตนเอง เป็น 2 ลักษณะคือ


1. การดูแลสุขภาพตนเองในสภาวะปกติ
เป็นการดูแลสุขภาพตนเอง และสมาชิกในครอบครัว ให้มีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์อยู่เสมอ ได้แก่
- การดูแลส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข เช่น การออกกำลังกาย การสร้างสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดี ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
- การป้องกันโรค เพื่อไม่ให้เจ็บป่วยเป็นโรค เช่น การไปรับภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ การไปตรวจสุขภาพ การป้องกันตนเองไม่ให้ติดโรค




2. การดูแลสุขภาพตนเองเมื่อเจ็บป่วยได้แก่ การขอคำแนะนำ แสวงหาวามรู้จากผู้รู้ เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขต่างๆ ในชุมชน บุคลากรสาธารณสุข เพื่อให้ได้แนวทางปฏิบัติ หรือการรักษาเบื้องต้นให้หาย จากความเจ็บป่วย ประเมินตนเองได้ว่า เมื่อไรควรไปพบแพทย์ เพื่อรักษาก่อนที่จะเจ็บป่วยรุนแรง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หรือบุคลากรสาธารณสุข เพื่อบรรเทาความเจ็บป่วย และมีสุขภาพดีดังเดิมการที่ประชาชนทั่วไปสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้นั้น จำเป็นต้องมีความรู้ ึความเข้าใจในเรื่อง การดูแลสุขภาพ ตั้งแต่ยังไม่เจ็บป่วย เพื่อบำรุงรักษาตนเอง ให้สมบูรณ์แข็งแรง รู้จักที่จะป้องกันตัวเอง มิให้เกิดโรค และเมื่อเจ็บป่วยก็รู้วิธีที่จะรักษาตัวเอง เบื้องต้นจนหายเป็นปกติ หรือรู้ว่า เมื่อไรต้องไปพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน
สุขภาพของคนเราจะดีหรือเสื่อมนั้น ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์แข็งแรง ของอวัยวะต่างๆ เช่น ผิวหนัง ตา หู จมูก และฟัน ซึ่งเป็นอวัยวะภายนอกร่างกาย ที่เราควรดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดี และแข็งแรง เพราะถ้าเสื่อมโทรม หรือผิดปกติ จะส่งผลกระทบต่ออวัยวะส่วนอื่นๆ ได้ ดังนั้น เราต้องระวังรักษาส่วนต่างๆ ของร่างกายให้สะอาด ตลอดจนการออกกำลังกาย และการพักผ่อน เพื่อทำให้ร่างกายมีความสมบูรณ์ แข็งแรง และมีผลทำให้จิตใจเบิกบาน แจ่มใส สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ อย่างมีความสุข
การดูแลสุขภาพตนเอง ให้มีสุขภาพสมบูรณ์ และแข็งแรงอยู่เสมอ จะต้องปฏิบัติกิจกรรม ในด้านการส่งเสริมสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ในชีวิตประจำวัน โดยยึดหลักสุขบัญญัติ 10 ประการ และสำรวจสุขภาพตนเอง ดังนี้
1. ดูแลรักษาร่างกาย และของใช้ให้สะอาด
อาบน้ำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้งการอาบน้ำให้สะอาด จะต้องใช้สบู่ฟอกทุกส่วนของร่างกายให้ทั่ว และมีการขัดถูขี้ไคล บริเวณลำคอ รักแร้ แขนขา ง่ามนิ้วมือ ง่ามนิ้วเท้า ขาหนีบ โดยเฉพาะอวัยวะเพศ ต้องรักษาความสะอาดเป็นพิเศษ หลังจากนั้นล้างด้วยน้ำ และเช็ดตัวให้แห้ง ด้วยผ้าที่สะอาด จะช่วยให้ร่างกายสะอาด และสดชื่น
สระผม อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้งการสระผมช่วยให้ผสม และหนังศีรษะสะอาด ไม่สกปรก หรือมีกลิ่นเหม็น โยใช้สบู่ หรือแชมพูสระผมจนสะอาด แล้วเช็ดผมให้แห้ง หร้อมทั้งหวีผมให้เรียบร้อย การหมั่นหวีผม จะช่วยนวดศีรษะให้เลือดมาเลี้ยงศีรษะมากขึ้น และต้องล้างหวี หรือแปรงให้สะอาดเสมอ การไม่สระผม หรือสระผมไม่สะอาด ทำให้เป็นชันนะตุ รังแค และเกิดอาการคัน เกิดโรคผิวหนัง และเชื้อราบนหนังศีรษะ ทำให้เกิดผมร่วง และเสียบุคลิกภาพ
การรักษาอนามัยของดวงตาดวงตาเป็นอวัยวะสำคัญ เราควรหวงแหน และให้ความเอาใจใส่ ควรปฏิบัติดังนี้
อ่าน หรือเขียนหนังสือในระยะห่างประมาณ 1 ฟุต โดยมีแสงสว่างเพียงพอ แสงเข้าทางด้านซ้าย หรือตรงข้ามกับมือที่ถนัด หากรู้สึกเพลียสายตา ควรพักผ่อนสายตา โดยการหลับตา หรือมองไปไกลๆ ชั่วครู่
ดูโทรทัศน์ในระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตรครึ่ง
บำรุงสายตาด้วยการรับประทานอาหารที่มีคุณค่า เช่น มะละกอสุก ฟักทอง และผักบุ้ง เป็นต้น
ใส่แว่นกันแดด ถ้าจำเป็นต้องมองในที่ๆ มีแสงสว่างมากเกินไป
ตรวจสายตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยแผ่นทดสอบสายตา (E-Chart) ถ้าสายตาผิดปกติ ให้พบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจสอบ และประกอบแว่นสายตา
การรักษาอนามัยของหูหูเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่างกาย ที่จะต้องเอาใจใส่ดูแลให้ถูกต้อง ดังนี้
เช็ด บริเวณใบหู และรูหู เท่าที่นิ้วจะเข้าไปได้ ห้ามใช้ของแข็งแคะเขี่ยใบหู รูหู
คนที่มีประวัติว่า มีการอักเสบของหู ต้องระวังไม่ให้น้ำเข้าหูเด็ดขาด
หากมีน้ำเข้าหู ให้เอียงหูข้างนั้นลง น้ำจะค่อยๆ ไหลออกมาได้เอง หรือใช้ไม้พันสำลีเช็ดบริเวณช่องหูด้านนอก
ถ้าเป็นหวัด ไม่ควรสั่งน้ำมูกแรงๆ เพราะจะทำให้เชื้อโรคจากจมูก หรือคอ ถูกดันเข้าไปในหูชั้นกลาง ทำให้เกิดการติดเชื้อ และเกิดเป็นโรคหูน้ำหนวก
เมื่อมีแมลงเข้าหู อย่าพยายามแคะ ให้ใช้น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันพืช หยอดหูทิ้งไว้ชั่วขณะ แมลงจะเคลื่อนไหวไม่ได้ และตายในที่สุด ควรพบแพทย์เพื่อเอาแมลงออก
หลีกเลี่ยงจากการถูกกระทบกระแทกหูโดยแรง หรือการตบหู เพราะจะทำให้แก้วหู และกระดูกภายในหูหลุด เกิดการสูญเสียการได้ยินตามมา รวมทั้งการหลีเลี่ยงเสียงอึกทึก และเสียงดังมากๆ อาจทำให้หูพิการได้
ต้องรู้จักสังเกตอาการผิดปกติของหู และการได้ยินอยู่เสมอ หากมีอาการผิดปกติ เช่น รู้สึกปวดหู เจ็บหู คันหู หูอื้อ มีน้ำหรือหนองไหลจากหู เวียนศีรษะ มีเสียงดังรบกวนในหู การได้ยินเสียงน้อยลง หรือได้ยินไม่ชัด ต้องรีบไปพบแพทย์เฉพาะทาง หู คอ จมูก ทันที
การรักษาอนามัยของจมูก ข้อควรปฏิบัติดังนี้
ไม่ถอนขนจมูก เพราะจะทำให้จมูกอักเสบได้
ถ้าเป็นหวัดเรื้อรัง หรือมีเลือดกำเดาออกบ่อยๆ ต้องพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา
ห้ามใส่เมล็ดผลไม้ หรือสิ่งแปลกปลอมอื่นเข้าไปในรูจมูก
การไอหรือจาม ต้องใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปาก จมูก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคในอาการ เป็นผลให้ผู้อื่นติดโรคได้
ต้องสั่งน้ำมูก ใส่ในผ้า หรือกระดาษเช็ดหน้าที่สะอาด
ตัดเล็บมือเล็บเท้าให้สั้นอยู่เสมอมือและเท้าเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายที่สำคัญ ต้องมีการดูแลรักษา ไม่ปล่อยให้เล็บมือเล็บเท้ายาว การปล่อยให้เล็บยาว โดยไม่ดูแลความสะอาด จะทำให้เชื้อโรคที่สะสมอยู่ตามซอกเล็บ ติดไปกับอาหาร เป็นการนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทาปากโดยตรง ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วง ก่อน และหลังรับประทานอาหาร และหลังจากเข้าส้วมแล้ว ต้องล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดทุกครั้ง และต้องสวมรองเท้าเมื่อออกจากบ้าน
ถ่ายอุจจาระเป็นเวลาทุกวันควรฝึกขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกวัน ในตอนเช้า อย่าให้ท้องผูกบ่อยๆ เพราะจะทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร และเป็นมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้
ใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่อับชื้น และให้ความอบอุ่นเพียงพอการรักษาความสะอาดของเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องนอนเป็นิส่งสำคัญ เสื้อผ้าที่ใช้แล้วทิ้ง ชั้นนอกและชั้นใน ต้องมีการทำความสะอาดด้วยสบู่ หรือผงซักฟอกทุกครั้ง นำไปผึ่งหรือตากแดดให้แห้ง ประการสำคัญ การสวมเสื้อผ้า ต้อใช้ให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ไม่ใส่เสื้อผ้าซ้ำๆ หรือซักไม่สะอาด อับชื้น เพราะจะทำให้เกิดโรคผิวหนังได้
2. รักษาฟันให้แข็งแรง และแปรงฟันทุกวันอย่างถูกต้อง
แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หลีกเลี่ยงขนมหวาน เช่น ลูกอม แปรงฟัน หรือบ้วนปากหลังรับประทานอาหาร ไม่ใช้ฟันขบเคี้ยวของแข็ง
3. ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร และหลังการขับถ่าย ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ก่อนและหลังการปรุงอาหาร รวมทั้งก่อนรับประทานอาหาร และหลังการขับถ่าย เป็นการป้องกันการแพร่เชื้อ และติดเชื้อโรคได้ ควรล้างมือให้ถูกวิธี ดังนี้ ให้มือเปียกน้ำ ฟอกสบู่ ถูให้ทั่วฝ่ามือ ด้านหน้า และด้านหลังมือ ถูตามง่ามนิ้วมือ และซอกเล็บให้ทั่ว เพื่อให้สิ่งสกปรกหลุดออกไป พร้อมทั้งถูกข้อมือ ล้างน้ำให้สะอาด แล้วเฃ็ดมือให้แห้งด้วยผ้าที่สะอาด
4. รับประทานอาหารสุก สะอาด ปราศจากสารอันตราย และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด สีฉูดฉาด เลือกซื้ออาหารสด สะอาด ปลอดสารพิษ โดยคำนึงถึงหลัก 3 ป. คือ ประโยชน์ ปลอดภัย ประหยัด ปรุงอาหารที่ถูกสุขลักษณะ และใช้เครื่องปรุงรสที่ถูกต้อง โดยคำนึงถึงหลัก 3 ส. คือ สงวนคุณค่า สุกเสมอ สะอาดปลอดภัย รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย รับประทานอาหารปรุงสักใหม่ และใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหารร่วมกัน หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารรสจัด อาหารใส่สีฉูดฉาด ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว


5. งดบุหรี่ สุรา สารเสพย์ติด การพนัน และการสำส่อนทางเพศ ไม่เสพสารเสพย์ติดทุกชนิด เช่น บุหรี่ สุรา ยาบ้า กัญชา กาว ทินเนอร์ งดเล่นการพนันทุกชนิด ไม่มั่วสุมทางเพศ
6. สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น ทุกคนในครอบครัวช่วยกันทำงานบ้าน มีการปรึกษาหารือ และแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
การเผื่อแผ่น้ำใจซึ่งกันและกัน การทำบุญ และได้ทำกิจกรรมสนุกสนานร่วมกัน
7. ป้องกันอุบัติเหตุด้วยความำม่ประมาท ดูแล ตรวจสอบ และระมัดระวังอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น ไฟฟ้า เตาแก๊ส ของมีคม ธูปเทียนที่จุดบูชาพระ และไม้ขีดไฟ ระมัดระวังเพื่อป้องกันอุบัติภัยในที่สาธารณะ เช่น การใช้ถนน โรงฝึกงาน สถานที่ก่อสร้าง และชุมชนแออัด เป็นต้น
8. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพประจำปี การออกกำลังกายช่วยให้ร่างกายแข็งแรง เจริญเติบโตสมวัย กระตุ้นให้กระดูกยาวขึ้น และเข็งแรงขึ้น ทำให้สูงสง่า บุคลิกดี และยังช่วยผ่อนคลายความเครียด จากการทำงาน ตลอดจนเพิ่มภูมิต้านทานแก่ร่างกาย โดย ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 20-30 นาที ออกกำลังกาย และเล่นกีฬาให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย และวัย ตรวจสอบสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละครั้ง 9. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ พักผ่อน และนอนหลับให้เพียงพอ จัดสิ่งแวดล้อมทั้งในบ้าน และนอกบ้านให้น่าอยู่ มองโลกในแง่ดี ให้อภัย และยอมรับข้อบกพร่องของคนอื่น เมื่อมีปัญหาไม่สบายใจ ควรหาทางผ่อนคลาย ในทางที่ถูกต้องเหมาะสม


10. มีสำนึกต่อส่วนรวม ร่วมสร้างสรรค์สังคม ใช้ทรัพยากร เช่น น้ำ ไฟ อย่างประหยัด หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดพิษต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ถุงพลาสติก โฟม ตลอดจนการร่วมมือกัน รักษาความสะอาด และเป็นระเบียบของสถานที่ทำงาน และที่พัก เป็นต้น


แหล่งอ้างอิง:


www.google.co.th

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ตามรอยพ่อแม่ (หน่วยพันธุกรรม)






พันธุกรรมและการถ่ายทอดลักษณะ
อะไรทำให้เรามีลักษณะเหมือนพ่อแม่ ความคล้ายคลึงบางอย่างอาจเกิดจากการอบรมเมื่อยังเด็ก และสภาพแวดล้อมแต่ลักษณะอีกจำนวนมาก เช่นสีของตา ที่ถูกถ่ายทอดออกมา ถูกควบคุมโดยคำสั่งจาก ยีน (gene) การศึกษาเกี่ยวกับยีนและกฎที่จะตัดสินว่า ลักษณะใดที่เราได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ เรียกว่า พันธุศาสตร์ (Genetics)

ยีนอยู่ที่ไหน
ยีนกระจายอยู่ตามโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นเส้นบางเรียกว่า โครโมโซม (Chromosome) ซึ่งอยู่ภายในนิวเครียส ของทุกเซลล์ โครโมโซมจะอยู่เป็นคู่จำนวนคู่ขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิต พืชบางชนิดมีจำนวนโครโมโซมมากกว่า 100 คู่ ในทุกเซลล์ หนอนสปีชีส์หนึ่งมีเพียงคู่เดียว มนุษย์มี 23 คู่ (หรือ 46 โครโมโซม)ในแต่ละเซลล์

ยีนถูกสร้างมาจากอะไร
ยีนประกอบด้วยส่วนของสารเคมี DNA (Deoxyribo Nucleic Acid) ซึ่งควบคุมกิจกรรมในเซลล์ ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด โครงสร้างของ DNA ถูกค้นพบในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปี 1953 โดย เจมส์ วัตสัน (James Watson) และฟรานซิส คริค (Francis Crick)
แต่ละโมเลกุล DNA มีรูปร่างเป็น 2 สายบิดกันเป็นเกลียวเหมือนบันไดเวียน 2 อัน DNA ประกอบด้วย สารเคมี 4 ชนิด เกาะกันเป็นคู่ อะดีนีน (Adenine) จับกับไธมีน (Thymine) ไซโตรซีน (Cytosine) จับกับกัวนีน (Guanine) DNA บรรจุด้วยยีนหรือคำสั่งในรูปของรหัส การจัดเรียงของสารเคมีตามเกลียว จะเปลี่ยนแปลงไปตามคำสั่งที่เป็นรหัส

ยีนถูกค้นพบอย่างไร
ความคิดเรื่องยีน หรือแฟคเตอร์ ถูกคิดครั้งแรกในปี 1865 โดยภารดาเกรเกอร์ เมนเดล (Brother Greger Mendel)เขาได้ทดลองผสมพันธุ์ถั่ว เพื่อศึกษาลักษณะต่างๆ เช่นความสูง และสีดอก ว่าถูกถ่ายทอดไปอย่างไร

ยีนลักษณะเด่นและยีนลักษณะด้อย
เซลล์จะประกอบด้วยยีนอย่างน้อย 2 ยีน ที่ควบคุมลักษณะหนึ่งๆมาจากพ่ออีกยีนหนึ่งมาจากแม่ แต่บ่อยครั้งที่ยีนทั้งคู่มีลักษณะตรงข้ามกัน เช่น เราได้รับยีนซึ่งถ่ายทอดตาสีน้ำตาลมาจากแม่ และอีกยีนหนึ่ง เป็นยีนตาสีฟ้าจากพ่อ อะไรจะเป็นตัวตัดสิน สีตาเราจะเป็นสีอะไร เมนเดลแก้ปัญหาได้โดยค้นพบว่า ยีนหนึ่งมันถูกข่มโดยอีกยีนหนึ่ง ยีนที่ถูกข่มเรียกว่าเป็นลักษณะด้อย (Recessive) ยีนที่ข่มเขาได้ เรียกว่า ลักษณะเด่น (Dominant)
ในถั่วลันเตาพันธุ์ดอกสีขาวเป็นลักษณะด้อย และดอกสีแดงเป็นลักษณะเด่น นักชีววิทยาแสดงลักษณะโดยการเขียนตัวอักษร ตัวใหญ่ R แทนดอกสีแดง และตัวอักษรเล็กแทน r แทนดอกสีขาว
ถ้าเรามองพันธุ์ดอกสีแดงและสีขาวรุ่นใหม่หลังจากผสมแล้วจะเห็นว่าเป็นดอกสีแดงหมดทุกต้น จะมียีนหนึ่งเป็น R (สีแดง) และอีกยีนหนึ่งเป็น r (สีขาว) และถ้าเราผสมพันธุ์ถั่วลันเตาที่มียีน Rr ทั้งสองต้น ลูกจะมีอัตราส่วน ของดอกสีแดงสามดอก ดอกสีขาวหนึ่งดอก
เพศถูกกำหนดอย่างไร
โครโมโซมในมนุษย์ทั้ง 46 แท่ง จะมีโครโมโซมเพศอยู่ 2 แท่ง ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด X และ Y ผู้หญิงจะมีโครโมโซม Xทั้ง 2 แท่งคือ XX ผู้ชายจะมีโครโมโซม X และ Y อย่างละแท่งคือ XY
โครโมโซมทั้ง 46 แท่งในไซโกตจะบรรจุไว้ด้วยคำสั่งที่จำเป็นต่อเซลล์ในร่างกายทั้งหมด ไซโกต (Zygote) เจริญโดยการแบ่งเซลล์ผ่านการลอกเลียนแบบของคำสั่งไปยังเซลล์ใหม่แต่ละเซลล์






แหล่งอ้างอิง:


วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เมื่อเซลล์ทะเลาะกัน (การแบ่งเซลล์)

การแบ่งเซลล์เป็นการเพิ่มจำนวนเซลล์ ผลของการแบ่งเซลล์ทำให้เซลล์มีขนาดเล็กลง ทำให้สิ่งมีชีวิตชนิดนั้นเจริญเติบโต เซลล์โพรคาริโอต เช่น เซลล์แบคทีเรียมีการแบ่งเซลล์แบบไบนารีฟิชชัน (binary fission) คือเป็นการแบ่งแยกตัวจาก 1 เป็น 2 เซลล์พวกยูคาริโอต ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ การแบ่งนิวเคลียส (karyokinesis) และการแบ่งไซโทพลาซึม (cytokinesis) การแบ่งนิวเคลียสสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบคือ
1. การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิส (mitosis) เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อการสืบพันธุ์ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว และสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์บางชนิด ในสิ่งมีชีวิตทั่วไป การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิศจะเกิดขึ้นที่เซลล์ของร่างกาย (somatic cell) ทำให้จำนวนเซลล์ของร่างกายมีจำนวนมากขึ้น สิ่งมีชีวิตนั้นๆ จึงเจริญเติบโตขึ้น




การแบ่งเซลล์เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน ก่อนที่จะมีการแบ่งเซลล์ เซลล์จะมีการเตรียมตัวให้พร้อมก่อน ระยะเวลาที่เซลล์เตรียมความพร้อมก่อนการแบ่ง จนถึงการแบ่งนิวเคลียสและไซโทพลาซึมจนเสร็จสิ้น เรียกว่า วัฏจักรของเซลล์ (cell cycle) ซึ่งพบเฉพาะการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส วัฏจักรของเซลล์ประกอบด้วยขั้นตอน 2 ขั้นตอน คือ
1) ระยะอินเตอร์เฟส (interphase) เป็นระยะที่เซลล์เตรียมตัวให้พรอ้มก่อนที่จะแบ่งนิวเคลียสและไซโทพลาซึม เซลล์ในระยะนี้ มีนิวเคลียสขนาดใหญ่ และเห็นนิวคลีโอลัสชัดเจนเมื่อย้อมสี แบ่งเป็นระยะย่อยได้ 3 ระยะ คือ
- ระยะก่อนสร้าง DNA หรือระยะ จี1
- ระยะสร้าง DNA หรือระยะเอส
- ระยะหลังสร้าง DNA หรือระยะ จี2
2) ระยะที่มีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (mitotic phase หรือ M phase) เป็นระยะที่มีการแบ่งนิวเคลียส เกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ แล้วตามด้วยการแบ่งของไซโทพลาซึม การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิส อาจแบ่งได้เป็น 4 ระยะคือ
- ระยะโพรเฟส (prophase) เป็นระยะที่นิวเคลียสยังมีเยื่อหุ้มอยู่
- ระยะเมทาเฟส (metaphase) เป็นระยะที่เยื่อหุ้มนิวเคลียสสลายตัว
- ระยะแอนาเฟส (anaphase) เป็นระยะที่โครโมโซมแยกกันเป็น 2 กลุ่ม
- ระยะเทโลเฟส (telophase) เกิดการแบ่งของไซโทพลาซึมขึ้น
2. การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโอซิส (meiosis) การแบ่งเซลล์แบบนี้นิวเคลียสมีการเปลี่ยนแปลงโดยลดจำนวนโครโมโซมลงครึ่งหนึ่ง เป็นการแบ่งเพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ เซลล์ร่างกายของคนมีโครโมโซมอยู่ 46 โครโมโซม หรือ 23 คู่ แต่ละคู่มีรูปร่างลักษณะเหมือนกัน เรียกโครโมโซมที่เป็นคู่กันว่า ฮอมอโลกัสโครโมโซม (homologous chromosome) และเซลล์ที่มีโครโมโซมเข้าคู่กันได้เรียกว่า เซลล์ดิพลอยด์ (diploid cell) การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสนี้ นิวเคลียสมีการเปลี่ยนแปลง





แหล่งอ้างอิง:


กล้องจุลทรรศ์ (น่าดู)

กล้องจุลทรรศน์ (อังกฤษ: Microscope) เป็นอุปกรณ์สำหรับมองดูวัตถุที่มีขนาดเล็กเกินกว่ามองเห็นด้วยตาเปล่า ศาสตร์ที่มุ่งสำรวจวัตถุขนาดเล็กโดยใช้เครื่องมือดังกล่าวนี้ เรียกว่า จุลทรรศนศาสตร์ กล้องจุลทรรศน์ เป็นคำศัพท์ที่แปลจากภาษาอังกฤษ "microscope" และในภาษาอังกฤษ ก็ผูกศัพท์จากภาษากรีก"ไมครอน" (micron) หมายถึง ขนาดเล็ก และ "" (scopos) หมายถึง เป้าหมาย หรือ มุมมอง



ประวัติ
สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า เดิมใช้เพียงแว่นขยายและเลนส์อันเดียวส่องดู คงเช่นเดียวกับการใช้แว่นขยายส่องดูลายมือ ในระยะต่อมา กาลิเลอิ กาลิเลโอ ได้สร้างแว่นขยายส่องดูสิ่งมีชีวิตเล็กๆในราวปี พ.ศ. 2153
ในช่วงปี พ.ศ. 2133 ช่างทำแว่นตาชาวฮอลันดาชื่อ แจนเสนประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ชนิดเลนส์ประกอบ ประกอบด้วยแว่นขยายสองอัน
ในปี พ.ศ. 2208 โรเบิร์ต ฮุก ได้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ชนิดเลนส์ประกอบที่มีลำกล้องรูปร่างสวยงาม ป้องกันการรบกวนจากแสงภายนอกได้ และไม่ต้องถือเลนส์ให้ซ้อนกัน (ดูภาพในกล่องข้อความประกอบ) เขาส่องดูไม้คอร์กฝานบางๆ แล้วพบช่องเล็กๆมากมาย เขาเรียกช่องเหล่านั้นว่า
เซลล์ ซึ่งหมายถึงห้องว่างๆ หรือห้องขัง เซลล์ที่ฮุกเห็นเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว เหลือแต่ผนังเซลล์ของพืชซึ่งแข็งแรงกว่าเยื่อหุ้มเซลล์ในสัตว์ จึงทำให้คงรูปร่างอยู่ได้ ฮุกจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งชื่อเซลล์
ในปี พ.ศ. 2215 แอนโทนี แวน ลิวเวนฮุค ชาวฮอลันดา สร้างกล้องจุลทรรศน์ชนิดเลนส์เดียวจากแว่นขยายที่เขาฝนเอง แว่นขยายบางอันขยายได้ถึง 270 เท่า เขาใช้กล้องจุลทรรศน์ตรวจดูหยดน้ำจากบึงและแม่น้ำ และจากน้ำฝนที่รองไว้ในหม้อ เห็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆมากมายนอกจากนั้นเขายังส่องดูสิ่งมีชีวิตต่างๆ เช่น [(([เม็ดเลือดแดง]))], เซลล์สืบพันธุ์สัตว์ตัวผู้, กล้ามเนื้อ เป็นต้น เมื่อเขาพบสิ่งเหล่านี้ เขารายงานไปยังราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์
ปี พ.ศ. 2367 ดูโธรเชต์ นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสศึกษาเนื้อเยื่อพืช และสัตว์พบว่าประกอบด้วยเซลล์
ปี พ.ศ. 2376 โรเบิร์ต บราวน์ นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นค้นแรกที่พบว่าเซลล์มีพืชมีนิวเคลียสเป็นก้อนกลมๆ อยู่ภายในเซลล์
ปี พ.ศ. 2378 เฟ-ลิกซ์ ดือจาร์แดง นักสัตวศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ศึกษาจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ พบว่าภายในประกอบด้วยของเหลวใสๆ จึงเรียกว่า ซาร์โคด ซึ่งเป็นภาษาฝรั่งเศสมาจากศัพท์กรีกว่า ซารค์ (((Sarx))) ซึ่งแปลว่าเนื้อ
ปี พ.ศ. 2381 ชไลเดน นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ศึกษาเนื้อเยื่อพืชชนิดต่างๆ พบว่าพืชทุกชนิดประกอบด้วยเซลล์
ปี พ.ศ. 2382 ชไลเดรและชวาน จึงร่วมกันตั้งทฤษฎีเซลล์ ซึ่งมีใจความสรุปได้ว่า "สิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบไปด้วยเซลล์และผลิตภัณฑ์จากเซลล์"
พ.ศ. 2382 พัวกินเย นักสัตวิทยาชาวเชคโกสโลวาเกีย ศึกษาไข่และตัวอ่อนของสัตว์ชนิดต่างๆ ะบว่าภายในมีของเหลวใส เหนียว อ่อนนุ่มเป็นวุ้น เรียกว่าโปรโตพลาสซึม
ต่อจากนั้นมีนักวิทยาศาสตร์อีกมากมายทำการศึกษาเกี่ยวกับเซลล์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดเลนส์ประกอบ และได้พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนกระทั่งปี พ.ศ. 2475 นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน คืออี.รุสกา และแมกซ์นอลล์ ได้เปลี่ยนแปลงกระบวนการของกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้แสงและเลนส์มาใช้ลำอิเล็กตรอน ทำให้เกิดกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนขึ้นในระยะต่อๆมา ปัจจุบันมีกำลังขยายกว่า 5 แสนเท่า





ชนิดของกล้องจุลทรรศน์
กล้องจุลทรรศน์สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 2 ประเภท คือ กล้องจุลทรรศน์แบบแสง (Optical microscopes) และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน((((Electron microscopes))))
กล้องจุลทรรศน์ชนิดที่พบได้มากที่สุด คือชนิดที่ประดิษฐ์ขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกว่า กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (optical microscope) เป็นอุปกรณ์ใช้แสงอย่างหนึ่ง มี
เลนส์อย่างน้อย 1 ชิ้น เพื่อทำการขยายภาพวัตถุที่วางในระนาบโฟกัสของเลนส์นั้นๆ

- กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง
Light microscope เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่พบอยู่ทั่วไป โดยเวลาส่องดูจะเห็นพื้นหลังเป็นสีขาว และจะเห็นเชื้อจุลินทรีย์มีสีเข้มกว่า
Dark field microscoe เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่มีพื้นหลังเป็นสีดำ เห็นเชื้อจุลินทรีย์สว่าง เหมาะสำหรับใช้ส่องจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็ก ที่ติดสียาก
Phase contrast microscope ใช้สำหรับส่องเชื้อจุลินทรีย์ที่ยังไม่ได้ทำการย้อมสี จะเห็นชัดเจนกว่า Light microscope
Fluorescence microscope ใช้แหล่งกำเนิดแสงเป็น อัลตราไวโอเลต ส่องดูจุลินทรีย์ที่ย้อมด้วยสารเรืองแสง ซึ่งเมื่อกระทบกับแสง UV จะเปลี่ยนเป็นแสงช่วงที่มองเห็นได้ แล้วแต่ชนิดของสารที่ใช้ พื้นหลังมักมีสีดำ

- กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
ดูบทความเพิ่มเติมที่
กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (Electron microscope) เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังการขยายสูงมาก เพราะใช้ลำแสงอิเล็กตรอนแทนแสงปกติและใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าแทนเลนส์แก้ว เป็นกล้องที่ใช้ในการศึกษาโครงสร้าง และส่วนประกอบของเซลล์ ได้อย่างละเอียด ที่กล้องชนิดอื่นไม่สามารถทำได้

ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์
- ฐาน (Base) เป็นส่วนที่ใช้วางบนโต๊ะ
- แขน (Arm) เป็นส่วนเชื่อมตัวลำกล้องกับฐาน
- ลำกล้อง (Body tube) เป็นส่วนที่ปลายด้านบนมีเลนส์ตา ส่วนปลายด้านล่างติดกับเลนส์วัตถุ ซึ่งติดกับแผ่นหมุนได้ เพื่อเปลี่ยนเลนส์ขนาดต่างๆ
- ปุ่มปรับภาพหยาบ (Coarse adjustment) ทำหน้าที่ปรับภาพโดยเปลี่ยนระยะโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุ (เลื่อนลำกล้องหรือแท่นวางวัตถุขึ้นลง) เพื่อทำให้เห็นภาพชัดเจน
- ปุ่มปรับภาพละเอียด (Fine adjustment) ทำหน้าที่ปรับภาพ ทำให้ได้ภาพที่ชัดเจนมากขึ้น
- เลนส์ใกล้วัตถุ (Objective lens) เป็นเลนส์ที่อยู่ใกล้กับแผ่นสไลด์ หรือวัตถุ ปกติติดกับแป้นวงกลมซึ่งมีประมาณ 3-4 อัน แต่ละอันมีกำลังบอกเอาไว้ เช่น x3.2, x4, x10, x40 และ x100 เป็นต้น ภาพที่เกิดจากเลนส์ใกล้วัตถุเป็นภาพจริงหัวกลับ
- เลนส์ใกล้ตา (Eye piece) เป็นเลนส์ที่อยู่บนสุดของลำกล้อง โดยทั่งไปมีกำลังขยาย 10x หรือ 15x ทำหน้าที่ขยายภาพที่ได้จากเลนส์ใกล้วัตถุให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดภาพที่ตาผู้ศึกษาสามารถมองเห็นได้ โดยภาพที่ได้เป็นภาพเสมือนหัวกลับ
- เลนส์รวมแสง (Condenser) ทำหน้าที่รวมแสงให้เข้มขึ้นเพื่อส่งไปยังวัตถุที่ต้องการศึกษา
- กระจกเงา (Mirror) ทำหน้าที่สะท้อนแสงจากธรรมชาติหรือแสงจากหลอดไฟภายในห้องให้ส่องผ่านวัตถุโดยทั่วไปกระจกเงามี 2 ด้าน ด้านหนึ่งเป็นกระจกเงาเว้า อีกด้านเป็นกระจกเงาระนาบ สำหรับกล้องรุ่นใหม่จะใช้หลอดไฟเป็นแหล่งกำเนิดแสง ซึ่งสะดวกและชัดเจนกว่า
- ไดอะแฟรม (Diaphragm) อยู่ใต้เลนส์รวมแสงทำหน้าที่ปรับปริมาณแสงให้เข้าสู่เลนส์ในปริมาณที่ต้องการ
- แท่นวางวัตถุ (Speciment stage) เป็นแท่นใช้วางแผ่นสไลด์ที่ต้องการศึกษา
- ที่หนีบสไลด์ (Stage clip) ใช้หนีบสไลด์ให้ติดอยู่กับแท่นวางวัตถุ ในกล้องรุ่นใหม่จะมี Mechanical stage แทนเพื่อควบคุมการเลื่อนสไลด์ให้สะดวกขึ้น


แหล่งอ้างอิง :




วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ส่วนประกอบของเซลล์

ส่วนประกอบของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์



  • นิวเคลียส คือออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มพบในเซลล์ยูแคริโอต ภายในบรรจุสารพันธุกรรม (genetic material) ซึ่งจัดเรียงตัวเป็นดีเอ็นเอ (DNA) สายยาวรวมตัวกับโปรตีนหลายชนิด เช่น ฮิสโตน (histone) เป็นโครโมโซม (chromosome) ยีน (gene) ต่างๆ ภายในโครโมโซมเหล่านี้ รวมเรียกว่า นิวเคลียส จีโนม (nuclear genome) หน้าที่ของนิวเคลียสคือการคงสภาพการรวมตัวของยีนเหล่านี้และควบคุมการทำงานของเซลล์โดยการควบคุมการแสดงออกของยีน (gene expression)โครงสร้างหลักของนิวเคลียสคือ เยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear envelope) ซึ่งเป็นเยื่อสองชั้นที่หุ้มทั้งออร์แกเนลล์และทำหน้าที่แยกองค์ประกอบภายในออกจากไซโทพลาซึม (cytoplasm) อีกโครงสร้างหนึ่งคือ นิวเคลียร์ลามินา (nuclear lamina) ซึ่งเป็นโครงสร้างร่างแหภายในนิวเคลียส ทำหน้าที่เป็นโครงร่างค้ำจุน ให้ความแข็งแรงแก่นิวเคลียส คล้ายไซโทสเกลเลตอน (cytoskeleton) ภายในเซลล์ เนื่องจากเยื่อหุ้มนิวเคลียสมีลักษณะเป็นเยื่อเลือกผ่านที่โมเลกุลส่วนใหญ่ผ่านทะลุเข้าออกไม่ได้ ดังนั้นเยื่อหุ้มนิวเคลียสจึงต้องมีนิวเคลียร์พอร์ (nuclear pore) หรือช่องที่จะให้สารเคลื่อนผ่านเยื่อ ช่องเหล่านี้ทะลุผ่านเยื่อทั้งสองของเยื่อหุ้มนิวเคลียสให้โมเลกุลขนาดเล็กและไอออนเคลื่อนที่เข้าออกนิวเคลียสได้ การเคลื่อนที่เข้าออกของสารโมเลกุลใหญ่ เช่น โปรตีน ต้องมีการควบคุมและต้องใช้โปรตีนช่วยขนส่งสาร (carrier proteins)



  • ผนังเซลล์ (Cell wall)คือ ชั้นที่ล้อมเซลล์ซึ่งอยู่ถัดจากชั้นของเยื่อหุ้มเซลล์ ทำหน้าที่เป็นตัวค้ำจุนโครงสร้าง ปกป้องเซลล์ และกลไกคัดกรองสาร ผนังเซลล์ยังมีหน้าที่ป้องกันการขยายตัวมากเกินไปหากน้ำไหลผ่านเข้าสู่ภายในเซลล์ มักพบอยู่ในพืช แบคทีเรีย อาร์เคีย เห็ดรา สาหร่าย แต่ไม่พบในสัตว์และโพรทิสต์ผนังเซลล์ของพืชเป็นชั้นที่อยู่นอกสุดของเซลล์พืช มีบทบาทในการยึดเซลล์เข้าด้วยกันให้เป็นเนื้อเยื่อ โครงสร้างประกอบด้วยเส้นใยเซลลูโลสสานซ้อนกันไปมาและยึดโยงอยู่ด้วยไกลแคนและเพกติน มีส่วนของเฮมิเซลลูโลสแทรก ด้านนอกของผนังเซลล์เป็นชั้นมิดเดิล ลาเมลลา ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างผนังเซลล์ของเซลล์สองเซลล์ ผนังเซลล์ของพืชไม่ได้เป็นส่วนที่ทึบตันตลอด แต่จะมีช่องให้เซลล์ที่อยู่ใกล้เคียงกันสามารถส่งสารเคมีระหว่างกันได้และยอมให้น้ำและสารอาหารผ่านได้ ในเซลล์พืชบางชนิดที่ต้องการความแข็งแรง จะสร้างผนังเซลล์ชั้นที่สองที่มีลิกนินเป็นส่วนประกอบสำคัญทับลงผนังเซลล์ชั้นแรก ผนังเซลล์ชั้นนี้น้ำและสารอาหารจะผ่านไม่ได้ ดังนั้นเมื่อสร้างผนังเซลล์ชั้นที่สองเสร็จแล้ว เซลล์จะตาย

  • นิิวคลีโอลัส ประกอบด้วยสารประเภท RNA และสารอื่นที่เป็นองค์ประกอบของไรโบโซมนิวคลีโอรัส (Nucleolus) เป็นส่วนของนิวเคลียส ที่มีลักษณะเป็นก้อนอนุภาคหนาทึบ ค้นพบโดยฟอนตานา (Fontana) เมี่อปี ค.ศ.1781 (พ.ศ. 2224) นิวคลีโอลัสพบเฉพาะเซลล์ของพวกยูคาริโอตเท่านั้น เซลล์อสุจิ เซลล์เม็ดเลือดแดง ที่เจริญเติบโตเต็มที่ ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และเซลล์ไฟเบอร์ของกล้ามเนื้อ จะไม่มีนิวคลีโอลัส นิวคลีโอลัส เป็นตำแหน่งที่ติดสีเคมี บนไครโมโซม ประกอบด้วยสารประเภท DNA TNA ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับ กลไกการสร้างโปรตีนซึ่งนิวคลีโอรัส ประกอบด้วย โปรตีน และ RNA โดยโปรตีนเป็นชนิดฟอสโฟโปรตีน (Phosphoprotein) จะไม่พบโปรตีนฮิสโตนเลย ในเซลล์ที่มีกิจกกรรมสูง จะมีนิวคลีโอลัสขนาดใหญ่ ส่วนเซลล์ที่มีกิจกรรมต่ำ จะมีนิวคลีโอลัวขนาดเล็ก นิวคลีโอลัสมีหน้าที่ในการสังเคราะห์ RNA ชนิดต่างๆ และถูกนำออกทางรูของเยื่อหุ้มนิวเคลียส เพื่อสร้างเป็นไรโบโซมต่อไป ดังนั้น นิวคลีโอลัส จึงมีความสำคัญต่อการสร้างโปรตีน เป็นอย่างมาก เนื่องจากไรโบโซมทำนิวคลีโอลัสประกอบด้วย โปรกับ RNA นิวคลีโอลัสมีหน้าที่สังเคราะห์ RNA โปรที่พบก็จะเป็นพวก ฟอสโฟโปรฃ นิวคลีโอลัส (nucleolus) เป็นส่วนของนิวเคลียสที่มีลักษณะเป็นก้อนอนุภาคหนาทึบ ประกอบด้วย โปรตีน และ RNA โดยโปรตีนเป็นชนิดฟอสโฟโปรตีน (phosphoprotein) และไม่พบโปรตีนฮีสโตนเลย นิวคลีโอลัสมีหน้าที่ในการสังเคราะห์ RNA ชนิดต่างๆ ดังนั้นนิวคลีโอลัสจึงมีความสำคัญต่อการสร้างโปรตีนเป็นอย่างมาก เนื่องจากไรโบโซมทำหน้าที่สร้างโปรตีน
  • ไซโทพลาซีมเป็นส่วนหนึ่งของโปรโทพลาซึมที่อยู่รอบๆนิวเคลียสซึ่งเป็นส่วนที่ไม่มีชีวิตภายในเซลล์ เป็นของเหลวคล้ายเจลลี่เพื่อช่วยในการยือหยุ่นของเซลล์และทำให้เซลล์มีรูปร่างคงที่ ซึ่งภายในมีหลายอย่างที่สำคัญเช่นคลอโรพลาสในคลอโรพลาสมีคลอโรฟิลล์เอาไว้สังเคราะห์แสง มีออแกเนล ซึ่งทำให้เซลล์มีชีวิตอยู่ได้ ซึ่งสามารถพบได้ทั้งเซลล์พืชและเซลล์สัตว์

  • แฟลเจลลัม คือส่วนที่ยืดยาวออกมาจากเซลล์ มีลักษณะการเคลื่อนที่คล้ายแส้ ประกอบไปด้วยไมโครทูบูลหรือหลอดโปรตีนขนาดเล็กที่คอยค้ำจุนแฟลเจลลัมไว้ โดยแฟลเจลลัมของเซลล์จำพวกยูคาริโอตนั้น จะโบกพัดไปมาคล้ายตัว S และถูกล้อมรอบไปด้วยเยื่อหุ้มเซลล์แฟลเจลลัมในเซลล์จำพวกยูคาริโอต (eukaryotic cell) ซึ่งเป็นเซลล์แบบง่ายที่ไม่มีนิวเคลียสเด่นชัด นั้นต่างจากแฟลเจลลัมของเซลล์จำพวกโพรคาริโอต (prokaryote cell) ซึ่งเป็นเซลล์ในสิ่งมีชีวิตชั้นตำที่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสโดยสิ้นเชิง ทั้งในด้านโครงสร้างและวิวัฒนาการ คุณลักษณะเดียวที่แฟลเจลลาของแบคทีเรีย, อาเคีย (archaea) หรือยูคาริโอตมีเหมือนกันคือรูปลักษณ์ภายนอกของแฟลเจลลัมเท่านั้นแฟลเจลลัมในเซลล์ยูคาริโอตมีโครงสร้างไมโครทูบูลเรียงตัวกันเป็นวง 9 คู่ ล้อมรอบไมโครทูบูลที่ไม่มีคู่สองหลอดอยู่ตรงกลาง โครงสร้าง "9+2" นี้ก่อให้เกิดโครงสร้างที่ซับซ้อนตรงแกนของส่วนที่ยื่นออกมา เรียกว่าเเอ็กโซนีม (axoneme) โดยระหว่างไมโครทูบูลที่เรียงเป็นวงจะมีโปรตีนไดนีนต่อออกมา ทำหน้าที่เป็นเสมือนแขนที่ต่อกับไมโครทูบูล และทำให้แฟลเจลลัมสามารถพัดโบกได้ นอกจากนี้ตรงโคนของแฟลเจลลัมยังยึดติดกับโครงสร้างภายในเซลล์เรียกว่าเบซัลบอดี หรือไคนีโทโซม (basal body หรือ kitenosome) ซึ่งทำหน้าที่เป็นส่วนกลางในการควบคุมไมโครทูบูลที่ค้ำจุนแฟลเจลลัมอยู่ มีโครงสร้างที่ประกอบด้วยไมโครทูบูลจัดเป็นกลุ่ม กลุ่มละสาม โดยที่ไม่มีไมโครทูบูลตรงกลาง จึงเรียกโครงสร้างนี้ว่าโครงสร้าง "9+0" ซึ่งโครงสร้างแบบนี้เป็นโครงสร้างเดียวกับเซนทริโอล (centriole) ในเซลล์สัตว์

  • ไมโทคอนเดรีย (mitochondrion หรือรูปพหูพจน์ mitochondria) ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานของเซลล์ ถูกค้นพบครั้งแรกโดย คอลลิกเกอร์ ส่วนใหญ่มีรูปร่างกลมท่อนสั้น คล้ายไส้กรอก ยาว 5-7 ไมครอน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.2-1 ไมครอน ประกอบไปด้วยโปรตีน 60-65% ลิพิด 35-40% มีเยื่อหุ้มสองชั้น (double unit membrane) ชั้นนอกเรียบหนา 60-80 อังสตรอม เยื่อชั้นในพับเข้าไปเป็นรอยหยักเรียก คริสตี (cristae) หนา 60-80 อังสตรอม ภายในบรรจุของเหลวประกอบไปด้วยสารหลายชนิดเรียก แมทริกซ์ (matrix)ในมนุษย์มีไมโทคอนเดรียมากที่สุดที่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ภายในไมโทรคอนเดรียยังมี DNA รวมอยู่ด้วย ซึ่งเป็น DNA ที่มาจากเเม่โดยตรง ส่วน DNA ที่อยู่ในนิวเครียสนั้น จะเป็นที่ DNA ที่รวมจากพ่อเเละเเม่

แหล่งอ้างอิง:

www.google.co.th
www.thaigoodview.com